วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week : 8 Review / แนะนำ การใช้งาน 1 โปรแกรม/Application

    สวัสดีค่ะ วันนี้เจ้าของบล็อกจะมารีวิวแนะนำApplicationหนึ่ง ที่เจ้าของบล็อกใช้อยู่และคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนทุกคน เพราะAppนั้นก็คือ Thai Fast Dictionary คาดว่านักเรียนไทยทุกคนคงมีปัญหากับการเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียน คำนี้หมายถึงอะไร? พอเห็นก็ตึ้บกันไปเป็นแถบ จะมานั่งเปิดดิกชันนารีในหนังสือ กว่าจะหาเจอก็เรียนเลยไปถึงไหนต่อไหนแล้ว เจ้าของบล็อกจึงมาแนะนำแอปพลิเคชั่นดิกชันนารีง่ายๆที่ใช้สะดวก แถมยังมีเกมให้เล่นอีกด้วย งั้นไปดูกันเลย^^
   
    1.คลิกไปที่App จะปรากฏหน้าจอดังนี้ เป็นหน้าจอหลัก


    2.เสิร์ชคำศัพท์ทั้งไทยหรืออังกฤษลงตรงช่องนี้ และคลิกศัพท์ที่ค้นหาที่ปรากฏขึ้นมา เช่นคำว่า bird จะปรากฏหน้าจอดังนี้


    3.สามารถคลิกฟังเสียงพูดได้ที่รูป โทรโข่ง และถ้าหากเราต้องการจะ favorite คำศัพท์นั้นไว้ก็คลิกไปที่รูปดาว เมื่อสำเร็จดาวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองดังภาพ
     คลิกกลับมาที่หน้าจอหลัก คลิกไปที่ รูปดาว เพื่อเข้าดูคำศัพท์ที่เรา Favorite เอาไว้

    ถ้าต้องการเคลียร์คำศัพท์ที่เรา Favorite ไว้ คลิกที่รูป ถังขยะ จะปรากฏคำสั่งดังภาพ คลิกคำว่า Yes ข้อมูลก็จะถูกเคลียร์หายไป

    5.การดูประวัติการสืบค้นให้กลับมาที่หน้าจอหลักแล้ว คลิกที่ รูปนาฬิกา หน้าจอจะปรากฏประวัติการสืบค้นดังรูป

    ถ้าหากต้องการเคลียร์ประวัติการสืบค้น คลิกที่รูป ถังขยะ จะปรากฏคำสั่งดังภาพ คลิกคำว่า Yes ประวัติการสืบค้นก็จะถูกเคลียร์หายไป

6.ในAppนี้มีเกมส์สนุกๆเกี่ยวกับกับการทายคำศัพท์มาให้เราได้เล่นด้วย เป็นเกมhangmanน้องหมู อันดับแรกคลิกรูป น้องหมู ที่หน้าจอหลัก หน้าจอจะปรากฏดังภาพ



   เกมนี้เล่นง่ายๆเพียงแค่คลิก ตัวอักษร ถ้าตัวอักษรนั้นไม่มีในคำศัพท์ ลูกหมูจะโผล่มาและค่อยๆมีเชือกมาคล้องคอ แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีอยู่ในคำศัพท์ ตัวอักษรจะไปปรากฏตรงช่องคำ ถ้าเราชนะจะสามารถช่วยลูกหมูเอาไว้ได้ แต่ถ้าเกมแพ้ลูกหมูก็จะถูกคล้องคอตาย คำเฉลยจะปรากฎหลังจบเกมส์ ดังภาพต่อไปนี้
  
 
 



Special
คลิปรีวิวApplication Thai Fast Dictionary By เจ้าของบล็อกเอง^^

 
    สุดท้ายนี้เจ้าของบล็อกก็หวังว่าทุกคนจะสามารถใช้งาน Application นี้ได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด และหวังว่าทุกคนจะชื่นชอบการรีวิวครั้งแรกของเจ้าของบล็อกนะคะ>< ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย และย่าลืมไปโหลดแอปพลิเคชันนี้มาใช้กันนะคะ^^

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week : 7 คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ Computer ?

    ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราเป็นอย่างมาก จนสามารถพูดได้เลยว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน แต่พวกเรานั้นรู้จักคอมพิวเตอร์กันมากน้อยแค่ไหนกันล่ะ งั้นเราไปรู้จักกับคอมพิวเตอร์กันเลยดีกว่า

ความหมายของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"



คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้

การทำงานของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตามจะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input  Process และ output  ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ


ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

    เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

    เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

    เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

 
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์

    เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้

1. หน่วยเก็บ (Storage)

    หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็นจุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย

2. ความเร็ว (Speed)

    หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุดเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน

3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)

    หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น

4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)

    หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของระบบเครือข่าย

    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย(File Server)
    คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
ช่องทางการสื่อสาร(Communication Chanel)
    ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
ช่องทางการสื่อสาร(Communication Chanel)
    ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
สถานีงาน(Workstation or Terminal)
    สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host

ประเภทของระบบเครือข่าย
    จำแนกตามขนาดและลักษณะการใช้งานแบ่งได้ 3 ประเภท
ระบบเครือข่ายระยะใกล้หรือท้องถิ่น (Location Area Network :LAN)
    เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ใช้งานทางด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงสื่อสาร ส่งข้อมูล ติดต่อใช้งานร่วมกันได้ การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์จะอยู่ในบริเวณแคบ โดยทั่วไปจะมีระยะการไม่เกิน 10 กิโลเมตร เช่น ภายในอาคารสำนักงาน ภายในคลังสินค้า โรงงานหรือ ระหว่างตึกใกล้ๆ เชื่อมโยงด้วยสายสื่อสารจึงทำให้มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก และความผิดพลาดต่ำ
ระบบเครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)
    เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายท้องถิ่นหลายๆ ระบบเข้าด้วยกันในพื้นที่เดียวกัน เช่นภายในเมืองเดียวกัน เกิดเป็นเครือข่ายของเมืองนั้น ระบบเครือข่ายนี้จะใช้สื่อเชื่อมโยงทั้งชนิดใช้สายสัญญาณและชนิดไม่ใช้สายสัญญาณผสมเข้าด้วยกัน ตามลักษณะพื้นที่ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ในระยะทางไม่เกิน 60 กิโลเมตร
ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network :WAN)
    เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็น Packet ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง Packet นี้ส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ในการเชื่อมต่อกัน ในลักษณะเป็นลูกโซ่ อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวกรูปแบบของเครือข่ายแตกต่างกันไปตามลักษณะอัลกอริทึมสำหรับการคำนวณเส้นทางในการส่ง Packet โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบดาตาแกรม (Datagram) และแบบเวอร์ชวล เซอร์กิต (Virtual Circuit) หรือวงจรแบบเสมือน ระบบดาตา-แกรมพิจารณาแต่ละ Packet แยกจากกัน Packet ต่างๆ ของข้อความเดียวกันอาจถูกส่งไปในเส้นทางที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับ ปริมาณข่าวสารในเครือข่าย ในแต่ละขณะเวลาที่ผ่านไป และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครือข่ายเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์บางตัวเสีย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้มีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ คือ อินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
            ระบบอินทราเน็ต (Intranet)
              เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร หรือหน่วยงานของตนเอง ซึ่งเป็นการภายในต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลออกสู่ภายนอก หรือเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน อีกทั้ง ยังไม่ต้องการให้ บุคคลภายนอกมาร่วมใช้ หากไม่ได้รับการอนุญาต เช่นระบบเงินเดือน ข้อมูลการวิจัย และพัฒนาสินค้า ระบบบัญชี หรือ ข้อมูลความลับ ของหน่วยงาน เป็นต้น ทั้งนี้ในทุกรูปแบบของการใช้งาน ก็สามารถทำได้ เช่นเดียวกันในเครือข่ายInternet ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการสื่อสาร โดยผ่านสื่อโทรคมนาคม ที่มีอยู่ภายในองค์กร เช่น ระบบโทรศัพท์ภายใน หรือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในองค์กร (Local Area Network) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวจัดการ ทั้งหมด ให้ง่ายต่อการใช้งาน อาจใช้เครื่อง server ที่กำหนดการใช้งานเฉพาะอย่าง หรืออาจะมีลักษณะเดียวกันกับอินเทอร์เน็ต sever ก็ได้
            ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
             เป็นระบบเครือข่าย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก และไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดในการสื่อสาร เช่น รูปแบบข้อมูล(information) เสียง (sound) ภาพ(picture) ภาพยนตร์(video) ภาพสด(live video) การประชุมทางไกลชนิดเห็นภาพและเสียงของผู้ร่วมประชุม (video conference) รูปgraphicsต่างๆ หรือแม้กระทั่งภาพ animation และภาพสามมิติ(3-Dimension) จากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ได้อย่างกว้างขวาง โดยผ่าน สื่อโทรคมนาคมที่มีอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ หรือ เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) เป็นต้น ทั้งนี้ได้อาศัยเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทันสมัยเป็นตัวจัดการดังกล่าวทั้งหมดให้ง่ายต่อการใช้งาน


ลักษณะของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    ในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันสามารถแงลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ดังนี้
    เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (client-server network) จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ  เช่น  บริการเว็บ  และบริการฐานข้อมูล  การให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ  เช่น  การเปิดเว็บเพจ  เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บ  จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ ข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก  ข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง
    เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network : P2P network) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม เครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่น โปรแกรม eDonkey, BitTorrent และ LimeWire ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งาน และราคาไม่แพง ข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย จึงอาจพบว่าถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้อง เช่น การแบ่งปันเพลง ภาพยนตร์ และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
1.      แบบ Bus 
      การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
 
   2. แบบ Ring 

      การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
 
   3. แบบ Star
      การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป็น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
   4. แบบ Hybrid
       เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
    1.โมเด็ม (Modem)
    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem
    2.การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN


    เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

    3. เกตเวย์ (Gateway)


เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

    4. เราเตอร์ (Router)



     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

    5. บริดจ์ (Bridge)


    บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูลบริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย


    6. รีพีตเตอร์ (Repeater)


    รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆเช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical


    7.สายสัญญาณ
 
    เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
สาย Coax  

    สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย
สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)


    เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ


     8. ฮับ (HUB) 

    เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
 

หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากเนื้อหาที่เจ้าของบล็อกนำเสนอมาไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่ะ^^                        

 
Special

คลิปสัมภาษณ์ผู้ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนนะคะ^^







Credit;