คอมพิวเตอร์ Computer ?
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราเป็นอย่างมาก จนสามารถพูดได้เลยว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน
แต่พวกเรานั้นรู้จักคอมพิวเตอร์กันมากน้อยแค่ไหนกันล่ะ งั้นเราไปรู้จักกับคอมพิวเตอร์กันเลยดีกว่า
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า
"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล
ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์
ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล
ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้
ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น
การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตามจะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ
output
ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
ขั้นตอนที่ 1
: รับข้อมูลเข้า ( Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ
แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น
ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ ( Keyboard)
เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค
( Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม ( Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ
เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2
: ประมวลผลข้อมูล ( Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว
เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น
นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด
เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3
: แสดงผลลัพธ์ ( Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ
หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" ( Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น
4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์
เรียกว่า 4 S special ดังนี้
1. หน่วยเก็บ ( Storage)
หมายถึง
ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็นจุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์
ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ความเร็ว ( Speed)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล
( Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย
เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุดเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. ความเป็นอัตโนมัติ ( Self Acting)
หมายถึง
ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ
โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น
4. ความน่าเชื่อถือ ( Sure)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง
กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์
มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน ( Shared
Resource) ในเครือข่ายนั้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ
เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ( File Server) ช่องทางการสื่อสาร ( Communication Chanel) สถานีงาน ( Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย ( Network Operation System)
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย( File Server)
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์
ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร ( Resources) ต่าง
ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ
โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น ( LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ
มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host
Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
ช่องทางการสื่อสาร( Communication Chanel)
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง
สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ ( Receiver) และผู้ส่งข้อมูล
( Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร
สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ
สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม ( UTP) สายคู่ตีเกลียว
แบบมีฉนวนหุ้ม ( STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป
และดาวเทียม เป็นต้น
ช่องทางการสื่อสาร( Communication Chanel)
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง
สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ ( Receiver) และผู้ส่งข้อมูล
( Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร
สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ
สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม ( UTP) สายคู่ตีเกลียว
แบบมีฉนวนหุ้ม ( STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป
และดาวเทียม เป็นต้น
สถานีงาน( Workstation or
Terminal)
สถานีงาน ( Workstation
or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน
ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
( Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล
หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง
เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล ( Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น
ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
ประเภทของระบบเครือข่าย
จำแนกตามขนาดและลักษณะการใช้งานแบ่งได้
3 ประเภท
ระบบเครือข่ายระยะใกล้หรือท้องถิ่น
( Location Area
Network :LAN)
เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ใช้งานทางด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงสื่อสาร
ส่งข้อมูล ติดต่อใช้งานร่วมกันได้ การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์จะอยู่ในบริเวณแคบ
โดยทั่วไปจะมีระยะการไม่เกิน 10 กิโลเมตร เช่น ภายในอาคารสำนักงาน ภายในคลังสินค้า
โรงงานหรือ ระหว่างตึกใกล้ๆ เชื่อมโยงด้วยสายสื่อสารจึงทำให้มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก
และความผิดพลาดต่ำ
ระบบเครือข่ายเมือง ( Metropolitan Area Network :MAN)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายท้องถิ่นหลายๆ
ระบบเข้าด้วยกันในพื้นที่เดียวกัน เช่นภายในเมืองเดียวกัน
เกิดเป็นเครือข่ายของเมืองนั้น
ระบบเครือข่ายนี้จะใช้สื่อเชื่อมโยงทั้งชนิดใช้สายสัญญาณและชนิดไม่ใช้สายสัญญาณผสมเข้าด้วยกัน
ตามลักษณะพื้นที่ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ในระยะทางไม่เกิน 60 กิโลเมตร
ระบบเครือข่ายระยะไกล ( Wide Area Network :WAN)
เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง
โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็น Packet ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
Packet นี้ส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง
โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ในการเชื่อมต่อกัน ในลักษณะเป็นลูกโซ่
อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวกรูปแบบของเครือข่ายแตกต่างกันไปตามลักษณะอัลกอริทึมสำหรับการคำนวณเส้นทางในการส่ง
Packet โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ
คือ แบบดาตาแกรม ( Datagram) และแบบเวอร์ชวล
เซอร์กิต ( Virtual Circuit) หรือวงจรแบบเสมือน
ระบบดาตา-แกรมพิจารณาแต่ละ Packet แยกจากกัน
Packet ต่างๆ
ของข้อความเดียวกันอาจถูกส่งไปในเส้นทางที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณข่าวสารในเครือข่าย ในแต่ละขณะเวลาที่ผ่านไป และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครือข่ายเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์บางตัวเสีย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้มีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2
ระบบ คือ อินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
ระบบอินทราเน็ต
( Intranet)
เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร หรือหน่วยงานของตนเอง
ซึ่งเป็นการภายในต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลออกสู่ภายนอก
หรือเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน อีกทั้ง ยังไม่ต้องการให้ บุคคลภายนอกมาร่วมใช้
หากไม่ได้รับการอนุญาต เช่นระบบเงินเดือน ข้อมูลการวิจัย และพัฒนาสินค้า ระบบบัญชี
หรือ ข้อมูลความลับ ของหน่วยงาน เป็นต้น ทั้งนี้ในทุกรูปแบบของการใช้งาน
ก็สามารถทำได้ เช่นเดียวกันในเครือข่ายInternet
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการสื่อสาร
โดยผ่านสื่อโทรคมนาคม ที่มีอยู่ภายในองค์กร เช่น ระบบโทรศัพท์ภายใน หรือ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในองค์กร ( Local
Area Network) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวจัดการ
ทั้งหมด ให้ง่ายต่อการใช้งาน อาจใช้เครื่อง server
ที่กำหนดการใช้งานเฉพาะอย่าง
หรืออาจะมีลักษณะเดียวกันกับอินเทอร์เน็ต sever
ก็ได้
ระบบอินเทอร์เน็ต ( Internet)
เป็นระบบเครือข่าย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้
ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก และไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดในการสื่อสาร เช่น
รูปแบบข้อมูล(information) เสียง
( sound) ภาพ( picture) ภาพยนตร์( video)
ภาพสด( live
video) การประชุมทางไกลชนิดเห็นภาพและเสียงของผู้ร่วมประชุม
( video conference) รูป graphics ต่างๆ หรือแม้กระทั่งภาพ animation และภาพสามมิติ(3- Dimension) จากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ได้อย่างกว้างขวาง โดยผ่าน สื่อโทรคมนาคมที่มีอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน
ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ หรือ เคเบิลใยแก้วนำแสง ( Fiber Optics) เป็นต้น
ทั้งนี้ได้อาศัยเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์
ที่ทันสมัยเป็นตัวจัดการดังกล่าวทั้งหมดให้ง่ายต่อการใช้งาน
ลักษณะของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันสามารถแงลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ดังนี้
เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ ( client-server
network) จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ เช่น
บริการเว็บ
และบริการฐานข้อมูล การให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ เช่น
การเปิดเว็บเพจ
เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บ จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ
ข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก ข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง
เครือข่ายระดับเดียวกัน ( Peer-to-Peer
network : P 2 P
network) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน
การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม
เครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะ
เช่น โปรแกรม eDonkey, BitTorrent และ LimeWire ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งาน
และราคาไม่แพง ข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย
จึงอาจพบว่าถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้อง เช่น การแบ่งปันเพลง ภาพยนตร์
และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
1.
แบบ Bus
การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้
โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง
( Node C) จะต้องส่งข้อมูล
และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
2. แบบ Ring
การเชื่อมต่อแบบวงแหวน
เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน
โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง
ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล
IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย
Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
3. แบบ Star
การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์
Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป็น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล
Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้
Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
4. แบบ Hybrid
เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ
หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ
Hybrid
Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
1.โมเด็ม (Modem)
โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล
เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก
เรียกว่า มอดูเลชัน ( Modulation) โมเด็มทำหน้าที่
มอดูเลเตอร์ ( Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก
ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน ( Demodulation)
โมเด็มหน้าที่
ดีมอดูเลเตอร์ ( Demodulator) โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ
เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem
2.การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN
เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น
การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISA และเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี
Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น
100 Mbps ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก
แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์
ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ
เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น
ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน
3. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า
ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
4. เราเตอร์ ( Router)
เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน
สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ
ปรับโปรโตคอล ( Protocol) ( โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
5. บริดจ์ ( Bridge)
บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ
บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล
โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูลบริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน
ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย
6. รีพีตเตอร์ ( Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง
และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆเช่นกัน
รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.สายสัญญาณ
เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน
หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย
จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ สาย Coax
สาย Coax มีลักษณะเป็นสายกลม คล้ายสายโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ
BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด
LAN ต่างๆในระบบ
และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย
สาย UTP (Unshied Twisted Pair)
เป็นสายสำหรับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45 สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก
โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น คือ CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ 10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่ ในการใช้งานสายนี้ สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น
เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง
ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ
8. ฮับ (HUB)
เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ
หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ
ถึงกันได้โดยตรง แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า
2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น การ์ดมีความเร็ว 100
Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย
ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้ แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้จากเนื้อหาที่เจ้าของบล็อกนำเสนอมาไม่มากก็น้อยนะคะ
ขอบคุณค่ะ ^^
Special
คลิปสัมภาษณ์ผู้ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนนะคะ ^^
VIDEO
Credit;